ขนมหวานญี่ปุ่น อีกหนึ่งซิกเนเจอร์สำคัญ ทางด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่น ที่หากจะคิดถึงของคาว ก็คงจะเป็นจำพวกอาหารอย่าง ซูชิ ,ราเมน และซาซิมิ แต่ถ้าหากจะพูดถึง ขนมหวานญี่ปุ่น แล้วล่ะก็ คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก วากาชิ ชื่อเรียกของขนมหวานโบราณ ที่มีมานานหลายร้อยปี และแฝงไปด้วยศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นขนมที่ชาวญี่ปุ่น มักจะรับประทานในช่วงวันเทศกาล กับวันสำคัญต่าง ๆ และในวันนี้ เราก็จะพาทุกท่านไปรู้จักกับวากาชิ ขนมหวานอันเป็นเอกลักษณ์ ของประเทศญี่ปุ่นกัน
เนื่องจากวากาชินั้นเป็นการเรียกชื่อรวม ๆ ของ ขนมหวานญี่ปุ่น แบบรวม ๆ หลาย ๆ อย่าง จึงต้องมีการการจำแนก ประเภทของวากาชิอีกที โดยจะแบ่งประเภทของขนม ไปตามกรรมวิธีการผลิต และปริมาณน้ำในขนม ซึ่งก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทหลัก ๆ ได้แก่
นามะกาชิ (Namagashi) เป็นกลุ่มของขนมหวานแบบดิบ ซึ่งมีปริมาณน้ำผสม ประมาณ 30% หรือมากกว่า จึงทำให้เป็นขนมประเภท ที่เก็บได้ไม่นาน ซึ่งขนมนามะกาชิที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่
โจ นะมะกะชิ (Jo-Namagashi)
ดังโงะ (Dango)
โยคัง (Yokan)
เนริคิริ (Nerikiri)
ฮันนามะกาชิ (Hannamagashi) เป็นกลุ่มของขนมหวานกึ่งดิบ ซึ่งมีปริมาณน้ำผสม ประมาณ 10% – 30% และด้วยสัดส่วนปริมาณน้ำ ที่น้อยกว่าประเภท นามะกาชิ จึงทำให้ขนมประเภทนี้ สามารถเก็บได้นานกว่าสักระยะหนึ่ง โดยขนมประเภทฮันนามะกาชิ ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่
อิมากาวายากิ (Imagawa-Yaki)
โดรายากิ (Dorayaki)
โมนากะ (Monaka)
ไดฟุกุ (Daifuku)
ฮิกาชิ (Higashi) เป็นกลุ่มของขนมหวานแบบแห้ง ซึ่งมีปริมาณน้ำผสม ประมาณ 10% หรือน้อยกว่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นขนมแบบแห้ง ซึ่งสามารถเก็บได้ค่อนข้างนาน อย่างเช่น โดยขนมประเภทฮิกาชิ ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่
เซมเบ้ (Senbei)
ราคุกัน (Rakugan)
คอมเปโต (konpeito)
อาราเระ (Arare)